วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คำศัพท์เพลงพื้นบ้าน^^

เพลงพื้นบ้าน Folk  song

ผู้แสดง proponent          เพลงฉ่อย Choi Music

การอวยพร compliment



รำ dance





เพลงเกี่ยวข้าว harvest songs

ระกวด  contest

ครูเพลง Music Teachers

แม่เพลง Music mom

พ่อเพลง Music father

คอต้น the neck

ทำนอง tempo


ลูกคู่ refrain


วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556


การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็น ศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทอง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
เพลงเกี่ยวข้าว

     

ประวัติความเป็นมาของเพลงเกี่ยวข้าว เพลงเกี่ยวข้าวเป็นเพลงที่สำหรับร้องกันในขณะลงแขกเกี่ยวข้าว อันเป็นอาชีพสำคัญของประชาชนชาวไทยอย่างหนึ่ง เพื่อให้ความสนุกสนานกับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการงานและเชื่อมความ สามัคคีในระหว่างพื้นบ้านอาชีพเดียวกันเพลงเกี่ยวข้าวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยว ข้าวจะเล่นกันเมื่อหยุดจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเหมือนกับเพลงเต้นกำรำเคียว กล่าวคือจะเล่นเพลงเกี่ยวข้าวก่อนที่จะเล่นเพลงเต้นกำรำเคียวไม่มีกำหนดเวลา ในการเล่น คือ เล่นกันจนเหนื่อยก็เลิกเนื้อความของเพลงมักจะเกี่ยวกับ การไต่ถามถึงการทำนาผสมผสานการเกี้ยวพาราสีกัน  เพลงเกี่ยวข้าวบางแห่งเรียก  “เพลงกำ”  เวลาแสดงมือหนึ่งถือเคียว อีกมือหนึ่งกำข้าวไว้ ย่ำเท้าใช้ลีลาไปตามจังหวะเพลง ใช้ตบมือให้จังหวะพร้อม ๆ กัน บางครั้งใช้กลองและฉิ่งเข้าร่วมด้วย
วิธีเล่นเพลงเกี่ยวข้าว ผู้เล่นมีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แบ่งเป็น 2 ฝ่าย มีพ่อเพลงและแม่เพลงร้องโต้ตอบกันโดยใช้การตบมือให้จังหวะพร้อมๆ กัน บางครั้งใช้กลองและฉิ่งเข้าร่วมด้วย  ผู้ชายออกมาร้องก่อน แล้วฝ่ายหญิงก็ร้องตอบโต้โดยขึ้นต้นว่า “เอ่อ  เออ  เอิ้ง  เอ๊ย”หรือ  “โหยย  เอ้า โหยย  โหยย”  ถ้อยคำที่ร้องเล็ก ๆ น้อย ๆหยุมหยิมเหล่านี้ ร้องในเวลาเกี่ยวข้าว  เป็นโอกาสให้หญิงชายได้รู้จักท่วงทีกิริยากันยังไม่ร้องโต้ตอบกันเผ็ดร้อน ครั้นพอตกเย็นหยุดพักเกี่ยวข้าวก็เล่นกันใหม่  เรียกว่า รำกำรำเคียว มือหนึ่งถือข้าวมือหนึ่งถือเคียว  ตอนนี้ตั้งวงแล้วเริ่มไหว้ครูก่อนระหว่างที่เพลงนี้  มือถือกำข้าวรำไปตามจังหวะและคำที่ร้อง  กลอนที่ร้องคล้ายกับเพลงเรือการเล่นไม่นานนัก เพราะมีเวลาน้อยและเหนื่อยมาจากการเกี่ยวข้าว เพลงที่ร้องเวลาเกี่ยวข้าวนั้น มีร้องประปรายกันเล็กน้อย  เป็นกลอนสั้น ๆ พอที่จะร้องได้ทั่ว ๆ กัน
การแต่งกายฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วยและเสื้อกุยเฮงสีดำ  มีผ้าขาวม้าคาดพุง  สวมงอบและไม่สวมรองเท้า  ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอกสีดำทั้งชุดเช่นกัน  ทัดดอกไม้ที่หูขวาและไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือ รวงข้าวในมือซ้ายด้วย
โอกาสที่แสดง      เพลงเกี่ยวข้าวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว จะเล่นกันเมื่อหยุดจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เหมือนกับเพลงเต้นกำรำเคียว กล่าวคือ จะเล่นเพลงเกี่ยวข้าวก่อนที่จะเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว  และไม่มีกำหนดเวลาในการเล่น คือ เล่นกันจนเหนื่อยก็เลิก
สถานที่แสดง        เล่นกันในท้องนาที่เกี่ยวข้าวหรือลานดินกว้าง ๆ ในท้องนาแต่ในปัจจุบันร้องและเล่นกันบนเวที จัดเป็น 2 ฝ่าย ชาย – หญิง ว่าแก้กันเป็นคู่
จำนวนผู้แสดง ผู้เล่นเพลงเกี่ยวข้าวเป็นชาวบ้านมีอาชีพทำนา  โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น  จะเล่นกี่คนก็ได้  ยิ่งมากยิ่งสนุก  โดยมีพ่อเพลงแม่เพลงและลูกคู่รวมทั้งผู้ชมด้วย
ตัวอย่างเพลงเกี่ยวข้าว  เกี่ยวเถิดนะแม่เกี่ยว         อย่ามัวชะแง้แลเหลียว
เคียวจะบาดก้อยเอย ฯ
  คว้าเถิดหนาแม่คว้า         รีบตะบึงให้ถึงคันนา
จะได้พูดจากันเอย ฯ
  เกี่ยวข้าวแม่ยาย             ผักบุ้งหญ้าหวาย
 พันที่ปลายคำเอย ฯ
  คว้าเถิดนะแม่คว้า           ผักบุ้งสันตะวา
 คว้าให้เต็มกำเอย ฯ
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ตอน เพลงเรือ


ความเป็นมาของการเล่นเพลงเรือ     เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวไทยภาคกลางที่อยู่ตามริมลำน้ำ เช่น สุพรรณบุรี  อ่างทอง อยุธยา ฯลฯ นิยมเล่นกันในหน้านาประมาณเดือน 11-12  อุปกรณ์ในการเล่นเพลงเรือคือ เรือของพ่อเพลงลำหนึ่งและเรือของแม่เพลงลำหนึ่ง เครื่องดนตรีมี  กรับธรรมหรือกรับพวงและฉิ่ง  ถ้าเล่นกลางคืนจะต้องมีตะเกียงไว้กลางลำเรือ เนื้อร้องทั้งสองฝ่ายมาพบกัน  พ่อเพลงก็จะพายเรือเข้าไปเทียบเกาะเรือแม่เพลงไว้แม่เพลงเริ่มด้วยเพลงปลอบ หรือเพลงเกริ่น บางคณะจะเริ่มด้วยบทไหว้ครูก่อน จากนั้นแม่เพลงก็จะร้องประโต้ตอบเรียกว่า บทประ แล้วต่อด้วยชุดลักหาพาหนี หรือนัดหมายสู่ขอ แล้วต่อด้วยเพลงชุดชิงชู้และเพลงตีหมากผัว เมื่อเลิกก็จะมีเพลงจาก แสดงความอาลัยอาวรณ์ 

วิธีเล่นเพลงเรือ     วิธีเล่นหรือการขับเพลงจะมีต้นเสียงขึ้น  และมีลูกคู่รับ  โดยใช้ฉิ่งและกรับพวงเป็นเครื่องประกอบจังหวะเวลาร้อง ต้องร้องให้ลงกับจังหวะพาย ผู้ขับเพลงเรือหรือแม่เพลงต้องเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบที่จะหาคำหรือหยิบยกเอาเหตุการณ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาสอดแทรกเข้า ไปให้เหมาะสมอาจเป็นแข่งขัน ยกย่อง เสียดสี ซึ่งทำให้ผู้ฟังสนุกไปด้วยก่อนการเล่นเพลง ต้องมีการกล่าวกลอนไหว้ครูเสียก่อนจากนั้นจึงจะเอื้อนกลอนพรรณนาหรือชักชวนให้คนอื่นมาเล่นด้วยโดยใช้วิธีว่ากลอนกระทบกระทั่งกระเซ้าเย้าแหย่ จนคู่โต้มิอาจจะทนอยู่ได้จึงเกิดการเล่นเพลงเรือ โต้ตอบกันขึ้น การโต้ตอบกันด้วยเพลงเรือ บางทีก็เผ็ดร้อนใช้คารมที่คมคาย บางทีก็อาจเป็นทำนองรักหวานชื่น ทั้งนี้แล้วแต่โอกาสและสถานการณ์ 

การแสดงแบ่งเป็น  ฝ่ายชาย  ฝ่ายหญิง  มีพ่อเพลงแม่เพลง
     จะเริ่มด้วยบทไหว้ครู  เกี้ยวพาราสี  ลักหาพาหนีและตีหมากผัว

ลักษณะบทร้องแบ่งเป็น 4 ตอน  คือ     1. ปลอบ (ฝ่ายชายชวน)
     2. ประ  (ฝ่ายหญิงตอบ)
     3. ดำเนินเรื่อง
     4. จาก 

การแต่งกาย     ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม ผ้าขาวม้าคาดเอว  ส่วนฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก

โอกาสที่แสดง     แสดงในงานฤดูน้ำหลาก  หรือในงานนักขัตฤกษ์  งานมงคล  เช่น บวชนาค  ทอดกฐินและลอยกระทง

สถานที่แสดง     แสดงและเล่นกันในเรือ  แต่ในปัจจุบันร้องและเล่นกันบนเวที จัดเป็น 2 ฝ่าย  ชาย – หญิง ว่าแก้กันเป็นคู่ 

ตัวอย่างเพลงเรือ
ได้ยินน้ำคำเสียงมาร่ำสนอง                       เสียงใครมาเรียกหาน้อง (ฮ้าไฮ้)ที่ไหนล่ะ
แต่พอเรียกหาฉันแม่หนูไม่นานไม่เนิ่น        เสียงผู้ชายร้องเชิญ....ฉันจะว่า
การจะเล่นจะหัวหนูน้องไม่ดีดไม่ดิ้น            หรอกว่ายามกฐิน....ผ้าป่า
พอเรียกก็ขานแต่พอวานก็เอ่ย                    น้องหนูไม่นิ่งกันทำเฉย...ให้มันช้า
แต่พอเรียกหาน้องฉันก็ร้องขึ้นรำ                ฉันนบนอบตอบคำจริง....พับผ่า
แม่หนูนบนอบตอบคำ                                ตอบกันไปเสียด้วยน้ำ...วาจา
แต่พอเรียกหาน้องแล้วฉันก็ร้องว่าจ๋า           กันเสียเมื่อเวลาเอ๋ยจวนเอย (รับ)
เมื่อเวลาจวนเอยแต่พอเรียกหาน้อง             แม่หนูก็ร้องว่าจ๋าหาน้องหาน้องแม่หนูก็ร้อง
ว่าจ๋ากันเมื่อเวลา  เอ๋ยเมื่อเวลา   เวลาจวนเอย   ฮ้า...ไฮ้
  
เอ๋ยเรียกหาน้องร้องเอ่ย                             น้องหนูไม่นิ่งกันทำเฉย...ให้มันช้า
จะเล่นจะหัวกะตัวฉัน                                  เสียงใครมาเรียกแล้วแม่บ้าน...ไกลตา
ครั้นจะไม่ทักไม่ทาย                                  ฉันกลัวว่าพี่แกจะอาย...กันแน่หน้า
ฉันกลัวจะอาจพ่อไหวเอ๋ยเขาบ่น                 ทั้งฝูงผู้ฝูงคน...ก็มากหน้า
ฉันไม่ให้อายพ่อไหวเอ๋ยเขาแย่                   ฉันมิให้พี่ลงไปอาบ...กันแก่หน้า
ฉันจะธุรับหน้าเธอเอาไว้เสมอหน้าท่า
ฉันไม่ชักหน้าก้มให้หกล้มผวา                     เพราะเราเป็นคนเห็นหน้ากันเลย (รับ)
เอ๋ยคนเห็นหน้ากันเอย
ฉันไม่ชักหน้าก้มให้หกล้มผวา                     หน้าก้ม  หน้าก้ม  ให้หกล้มผวา  เพราะเป็นคน
เห็นหน้า  เอ๋ยคนเห็นหน้า                           เห็นหน้ากันเลย     (ฮ้า...ไฮ้) 

ประวัติความเป็นมา เต้นกำรำเคียว


ประวัติความเป็นมา เต้นกำรำเคียว

เต้นกำรำเคียว



ประวัติความเป็นมา 
แถบจังหวัดนครสวรรค์ โดยเฉพาะอำเภอพยุหะคีรี ประชาชนส่วนมากยึดอาชีพการทำนาเป็นหลัก หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ชาวนารู้สึกเหน็ดเหนื่อย และด้วยนิสัยรักความสนุก ประกอบกับการเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทยด้วย ก็ชักชวนกันผ่อนคลายความเมื่อยล้า ด้วยการตั้งวงเต้นกำรำเคียว การเล่นเต้นกำรำเคียวมักเริ่มเล่นเพลงเกี่ยวข้าวก่อนเสมอ เต้นกำรำเคียวเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เก่าแก่แบบหนึ่งของชาวชนบท สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นครั้งแรกที่บ้านสระทะเล ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เล่นกันแพร่หลายในบ้านสระทะเล และตำบลใกล้เคียง เช่น ตำบลม่วงหัก เป็นต้น อนึ่ง มีผู้รู้เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านคนหนึ่ง กล่าวว่า แต่เดิมชาวบ้านเรียกการละเล่นชนิดนี้ว่า “เต้นกำ” แต่กรมศิลปากรได้ไปถ่ายทอด และนำไปเผยแพร่ ก็ได้เพิ่มคำว่า “รำเคียว” ต่อท้าย จึงทำให้ประชาชนทั้งหลายรู้จักการละเล่นแบบนี้ในชื่อของ “เต้นกำรำเคียว” การนำเพลงเต้นกำรำเคียวไปเผยแพร่นั้น กรมศิลปากรได้ดัดแปลงท่ารำและเนื้อร้องใหม่ เพื่อให้สุภาพขึ้น และใช้ระนาดเป็นเครื่องดนตรีประกอบในตอนต้นและตอนท้าย เพลงเต้นกำรำเคียวนั้น ถือเป็นเพลงพื้นบ้านประจำจังหวัดนครสวรรค์ และในบางครั้งก็ใช้แทนเพลงพื้นบ้านในนามภาคกลางด้วย 


ผู้เล่น 
การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียวนั้นผู้เล่นเป็นชาวบ้านที่มาเกี่ยวข้าว ไม่จำกัดจำนวน ชาย หญิง จะจับคู่เล่นกันเป็นคู่ๆ ประมาณ 5 คู่ ถึง 10 คู่ 


การแต่งกาย 
ทั้งของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง คือ ชุดที่ใส่ในการทำนา ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วย และสวมเสื้อม่อฮ่อมสีดำหรือสีน้ำเงินเข้มมีผ้าขาวม้าคาดเอว สวมหมวกสานใบลาน ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนสีดำ หรือโจงกระเบนผ้าลายก็ได้ และสวมเสื้อแขนกระบอกสีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม สวมงอบ 
อุปกรณ์ในการเล่น 
เคียวเกี่ยวข้าวคนละ 1 เล่ม พร้อมกับกำรวงข้าวคนละ 1 กำ 


สถานที่เล่น 
เล่นกันในท้องนาที่เกี่ยวข้าว หรือลานดินกว้างๆ ในท้องนา 


วิธีเล่น 
ในการเล่นจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายชายและฝ่ายหญิง แต่ละฝ่ายจะยืนอยู่คนละครึ่งวงกลม แต่ละคนถือเคียวเกี่ยวข้าวไว้ด้วยมือขวา ส่วนมือซ้ายกำรวงข้าวไว้ เมื่อการเล่นเริ่มต้นขึ้น ฝ่ายชายที่เป็นพ่อเพลง จะเป็นผู้เต้นออกไปกลางวง ตามจังหวะปรบมือของลูกคู่ พ่อเพลงจะร้องชักชวนแม่เพลงก่อน เพื่อให้ออกมาเพลงแรกคือ เพลงมา สำหรับลูกคู่ที่เป็นชาย จะนำเคียวและรวงข้าวมาเหน็บไว้ข้างหลัง เพื่อตบมือให้จังหวะ ส่วนลูกคู่ฝ่ายหญิงยังคงถือเคียวและรวงข้าวเหมือนเดิม แล้วเดินตามกันไปเป็นวงกลม สำหรับพ่อเพลงและแม่เพลงนั้น จะเปลี่ยนกันหลายคนก็ได้ นอกนั้นก็เป็นลูกคู่คอยร้องรับ นอกจากนี้ยังมีการรำร่อหรือเรียกว่า“ร่อกำ” กล่าวคือ เมื่อพ่อเพลงเดินเข้าไปใกล้แม่เพลง ก็หาทางเข้าใกล้ฝ่ายหญิงให้มากที่สุด เมื่อสบโอกาสก็ใช้ด้ามเคียวหรือข้อศอก กระทุ้งให้ถูกตัวฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงจะใช้เคียวและรวงข้าวปัดป้อง ถ้าหากพ่อเพลงเข้าไปผิดท่า ก็อาจถูกรวงข้าวฟาด การร่อกำนี้ พ่อเพลงที่เต้นเก่งๆ จะทำได้น่าดูมาก เพราะท่าทางสวยงามเป็นที่สนุกสนานครื้นเครง ในขณะที่ร้องพ่อเพลงจะแสดงท่าทางให้สอดคล้องกับเนื้อเพลงด้วย ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 11 บท

บทร้องเพลงเต้นกำรำเคียว

บทร้องเพลงเต้นกำรำเคียว

เพลงมา

ชาย มากันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่มา มารึมา แม่มา (ซ้ำ) มาเถิดแม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้อง เป็นปี่ ต้อยตะริดติ๊ดตอด น้ำแห้งน้ำหยอดที่ตรงลิ้นปี่ มาเถิดนะแม่มามารึมาแม่มา มาเต้นกำย่ำหญ้ากันใน นานี้เอย (ลูกคู่รับท้าย)
หญิง มากันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อมา มารึมาพ่อมา ฝนกระจายปลายนา แล้วน้องจะ มาอย่างไรเอย (ลูกคู่รับท้าย)

เพลงไป ชาย ไปกันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่ไป ไปรึไปแม่ไป ไปชมนกกันที่ในป่า ไปชมพฤกษากันที่ในไพร ไปชม ชะนีผีไพร กันเล่นที่ในดงเอย (ลูกคู่รับท้าย)
หญิง ไปกันเถิดนายเอย(กรู้...) เอ๋ยรา พ่อไป ไปรึไปพ่อไป น้องเดินขยิกจิกไหล่ตามก้น
พี่ชายไปเอย(ลูกคู่ รับท้าย)

เพลงเดิน ชาย เดินกันเถิดนางเอย(กรู้...) เอ๋ยรา แม่เดิน เดินรึเดิน แม่เดิน ย่างเท้าขึ้นโคกเสียงนกโพระดกมันร้องเกริ่น(ซ้ำ)จะชวนหมู่น้องไปท้องพะเนิน ชมเล่นให้เพลินใจเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง เดินกันเถิดนายเอย(กรู้...) เอ๋ยรา พ่อเดิน เดินรึเดิน พ่อเดิน หนทางก็รกระหกระเหิน แล้วน้องจะเดินอย่างไรเอย(ลูกคู่ รับท้าย)


เพลงรำ ชาย รำกันเถิดนางเอย(กรู้...) เอ๋ยรา แม่รำ รำรึรำ แม่รำ ใส่เสื้อเนื้อดีแม่ห่มแต่สีดอกขำ (ซ้ำ) น้อยหรือแน่แม่ช่างรำ แม่เชื้อระบำเก่าเอย(ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง รำกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อรำ รำรึรำ พ่อรำ มหาหงส์ลงต่ำ ต่างคนต่างรำไปเอย

เพลงร่อน ชาย ร่อนกันเถิดนางเอย(กรู้...) เอ๋ยรา แม่ร่อน ร่อนรึร่อน แม่ร่อน (ชะฉ่า ชะฉ่า ชา ชา ๆ ๆ) ร่อนหรือร่อนแม่ร่อน รูปร่างเหมือนนางระบำ แม่เอ๋ยช่างรำ แม่คุณช่างร่อน(ซ้ำ...รูปร่าง) อ้อนแอ้นแขนอ่อนรูปร่างเหมือนมอญรำเอย(ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง ร่อนกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อร่อน ร่อนรึร่อน พ่อร่อน สีนวลอ่อนอ่อนร่อน แต่ลมบนเอย(ลูกคู่ รับท้าย)

เพลงบิน ชาย บินกันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่บิน บินรึบิน แม่บิน สองตีนกระทืบดินใคร เลยจะบินไปได้อย่างเจ้า (ซ้ำ...สองตีน) ใส่งอบขาว ๆ รำกันงามเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง บินกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อบิน บินรึบิน พ่อบิน มหาหงส์ทรงศีลบินไปตามลมเอย(ลูกคู่ รับท้าย)

เพลงยัก ชาย ยักกันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่ยัก ยักรึยัก แม่ยัก (เอาวา โจ๊ะ ติง ติงทั่ง ติง ติง ๆ ๆ วัวขี่ควาย กระต่ายขี่ลิง) ยักรึยัก แม่ยัก ยักตื้นติดกึก เอาละว่ายักลึกติดกัก ยักตื้นยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก หงส์ทองน้องรักยักให้หมดวงเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง ยักกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อยัก ยักรึยัก พ่อยัก อย่าเข้ามาใกล้น้องนักจะโดนเคียวควักตาเอย (ลูกคู่ รับท้าย)

เพลงย่อง
ชาย ย่องกันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่ย่อง ย่องรึย่อง แม่ย่อง บุกดงอะไร แกรก แกรกสองมือก็แหวกนัยน์ตาก็มอง บุกดงอะไร แกรก แกรกสองมือก็แหวกนัยน์ตาก็มองพบฝูงอีก้อง พวกเราก็ย่องยิงเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง ย่องกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อย่อง ย่องรึย่อง พ่อย่อง ฝูงละมั่งกวางทองย่อง มากินถั่วเอย (ลูกคู่ รับท้าย)

เพลงย่าง
ชาย ย่างกันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่ย่าง ย่างรึย่าง แม่ย่าง ย่างเถิด ย่างเถิด แม่ย่างย่าง รึย่างแม่ย่าง เจอะเสือพี่ก็จะยิง เจอะกระทิงพี่ก็จะย่าง เจอะเสือพี่ก็จะยิง เจอะกระทิง พี่ก็จะย่าง ไม่ว่าเนื้อเสือเนื้อช้างย่างมาฝากน้อยเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง ย่างกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อย่าง ย่างรึย่าง พ่อย่าง ไม่ว่าเนื้อเสือเนื้อช้างย่างไปฝากเมียเอย (ลูกคู่ รับท้าย)

เพลงแถ
ชาย แถกันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่แถ แถรึแถ แม่แถ จะลงที่หนองไหน พี่จะไปหนองนั้นแน่ (ซ้ำ..จะลง) นกกระสา ปลากระแห แถให้ติดดินเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง แถกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อแถ แถรึแถ พ่อแถ นกกระสา ปลากระแห แถมาลงหนองเอย (ลูกคู่ รับท้าย)

เพลงถอง ชาย ถองกันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่ถอง ถองรึถอง แม่ถอง ถองเถิดถองเถิด แม่ถอง ถองรึถอง แม่ถอง ค่อยขยับจับจ้อง ถองให้ถูกนางเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง ถองกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อถอง ถองรึถอง พ่อถอง (ชะฉ่า ชะฉ่า ชา ชา ๆ ๆ) ถองรึถอง พ่อถอง กล้าดีก็เข้ามาลอง จะโดนกระบองตีเอย (ลูกคู่ รับท้าย)