การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็น ศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทอง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
เพลงเกี่ยวข้าว
ประวัติความเป็นมาของเพลงเกี่ยวข้าว เพลงเกี่ยวข้าวเป็นเพลงที่สำหรับร้องกันในขณะลงแขกเกี่ยวข้าว อันเป็นอาชีพสำคัญของประชาชนชาวไทยอย่างหนึ่ง เพื่อให้ความสนุกสนานกับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการงานและเชื่อมความ สามัคคีในระหว่างพื้นบ้านอาชีพเดียวกันเพลงเกี่ยวข้าวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยว ข้าวจะเล่นกันเมื่อหยุดจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเหมือนกับเพลงเต้นกำรำเคียว กล่าวคือจะเล่นเพลงเกี่ยวข้าวก่อนที่จะเล่นเพลงเต้นกำรำเคียวไม่มีกำหนดเวลา ในการเล่น คือ เล่นกันจนเหนื่อยก็เลิกเนื้อความของเพลงมักจะเกี่ยวกับ การไต่ถามถึงการทำนาผสมผสานการเกี้ยวพาราสีกัน เพลงเกี่ยวข้าวบางแห่งเรียก “เพลงกำ” เวลาแสดงมือหนึ่งถือเคียว อีกมือหนึ่งกำข้าวไว้ ย่ำเท้าใช้ลีลาไปตามจังหวะเพลง ใช้ตบมือให้จังหวะพร้อม ๆ กัน บางครั้งใช้กลองและฉิ่งเข้าร่วมด้วย
วิธีเล่นเพลงเกี่ยวข้าว ผู้เล่นมีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แบ่งเป็น 2 ฝ่าย มีพ่อเพลงและแม่เพลงร้องโต้ตอบกันโดยใช้การตบมือให้จังหวะพร้อมๆ กัน บางครั้งใช้กลองและฉิ่งเข้าร่วมด้วย ผู้ชายออกมาร้องก่อน แล้วฝ่ายหญิงก็ร้องตอบโต้โดยขึ้นต้นว่า “เอ่อ เออ เอิ้ง เอ๊ย”หรือ “โหยย เอ้า โหยย โหยย” ถ้อยคำที่ร้องเล็ก ๆ น้อย ๆหยุมหยิมเหล่านี้ ร้องในเวลาเกี่ยวข้าว เป็นโอกาสให้หญิงชายได้รู้จักท่วงทีกิริยากันยังไม่ร้องโต้ตอบกันเผ็ดร้อน ครั้นพอตกเย็นหยุดพักเกี่ยวข้าวก็เล่นกันใหม่ เรียกว่า รำกำรำเคียว มือหนึ่งถือข้าวมือหนึ่งถือเคียว ตอนนี้ตั้งวงแล้วเริ่มไหว้ครูก่อนระหว่างที่เพลงนี้ มือถือกำข้าวรำไปตามจังหวะและคำที่ร้อง กลอนที่ร้องคล้ายกับเพลงเรือการเล่นไม่นานนัก เพราะมีเวลาน้อยและเหนื่อยมาจากการเกี่ยวข้าว เพลงที่ร้องเวลาเกี่ยวข้าวนั้น มีร้องประปรายกันเล็กน้อย เป็นกลอนสั้น ๆ พอที่จะร้องได้ทั่ว ๆ กัน
การแต่งกายฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วยและเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดพุง สวมงอบและไม่สวมรองเท้า ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอกสีดำทั้งชุดเช่นกัน ทัดดอกไม้ที่หูขวาและไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือ รวงข้าวในมือซ้ายด้วย
โอกาสที่แสดง เพลงเกี่ยวข้าวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว จะเล่นกันเมื่อหยุดจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เหมือนกับเพลงเต้นกำรำเคียว กล่าวคือ จะเล่นเพลงเกี่ยวข้าวก่อนที่จะเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว และไม่มีกำหนดเวลาในการเล่น คือ เล่นกันจนเหนื่อยก็เลิก
สถานที่แสดง เล่นกันในท้องนาที่เกี่ยวข้าวหรือลานดินกว้าง ๆ ในท้องนาแต่ในปัจจุบันร้องและเล่นกันบนเวที จัดเป็น 2 ฝ่าย ชาย – หญิง ว่าแก้กันเป็นคู่
จำนวนผู้แสดง ผู้เล่นเพลงเกี่ยวข้าวเป็นชาวบ้านมีอาชีพทำนา โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น จะเล่นกี่คนก็ได้ ยิ่งมากยิ่งสนุก โดยมีพ่อเพลงแม่เพลงและลูกคู่รวมทั้งผู้ชมด้วย
ตัวอย่างเพลงเกี่ยวข้าว เกี่ยวเถิดนะแม่เกี่ยว อย่ามัวชะแง้แลเหลียว
เคียวจะบาดก้อยเอย ฯ
คว้าเถิดหนาแม่คว้า รีบตะบึงให้ถึงคันนา
จะได้พูดจากันเอย ฯ
เกี่ยวข้าวแม่ยาย ผักบุ้งหญ้าหวาย
พันที่ปลายคำเอย ฯ
คว้าเถิดนะแม่คว้า ผักบุ้งสันตะวา
คว้าให้เต็มกำเอย ฯ
เคียวจะบาดก้อยเอย ฯ
คว้าเถิดหนาแม่คว้า รีบตะบึงให้ถึงคันนา
จะได้พูดจากันเอย ฯ
เกี่ยวข้าวแม่ยาย ผักบุ้งหญ้าหวาย
พันที่ปลายคำเอย ฯ
คว้าเถิดนะแม่คว้า ผักบุ้งสันตะวา
คว้าให้เต็มกำเอย ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น